วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แนะนำตัวเอง



ชื่อ นางสาว นิภาภรณ์ เขียวลา
รหัสนักศึกษา 581758065
คณะ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก
วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน  GEN1102 SEC.AE
สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเทิง

แผนที่ท่องเที่ยว

แผนที่ท่องเที่ยวเชียงราย







การแต่งกายของชาวล้าน

การแต่งกายของชาวนา

   การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป 
ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน

     


สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญจนถึงกับมีคำสุภาษิตของชาวเหนือสั่งสอนสืบต่อกันมาเลยว่า



ตุ๊กบ่ได้กิน บ่มีไผตามไฟส่องต้อง
ตุ๊กบ่ได้นุ่งได้ย่อง ปี้น้องดูแควน
     ทุกข์(จน)ไม่มีจะกิน (อิ่มหรือหิว) คนไม่รู้ (ไม่มีใครเอาไฟมาส่องดูในท้องได้) ทุกข์(จน)เพราะไม่มีอะไรมาแต่งตัว (คนเห็น) ญาติพี่น้องดูถูกเอาได้      












อ้างอิง

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อาหารพื้นเมือง

แกงฮังเล 







                  แกงฮังเล บางแห่งก็เรียกว่า แกงฮินเล หรือ แกงฮันเล มีอยู่ ๒ ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าแกงฮังเลเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่าในสมัยอดีต จากการศึกษาของอุบลรัตน์ พันธุมินทร์ จากแหล่งข้อมูลพุกาม พบว่าแกงที่ชาวพม่าเรียกว่า “ ฮินแล ” หรือ “ ฮังแล ” นั้นเป็นแกงอย่างเดียวกับที่ชาวล้านนาเรียกว่า “ แกงโฮะ ” ส่วนแกงอย่างที่ชาวล้านนาเรียก “ ฮินแล ” หรือ “ ฮังแล ” นั้น
ชาวพม่าเรียก “ แวะตาฮีน ” ซึ่งแปลว่าแกงหมู


แกงโฮ๊ะ 


                 แกงโฮ๊ะ  คำว่า โฮ๊ะ แปลว่า รวม แกงโฮ๊ะ ก็คือการนำเอาอาหารหลายๆอย่างมารวมกัน หรือเวลาที่อาหารเหลือจากการรับประทานคนเหนือก็จะนำมาแกงโฮ๊ะหรือคั่วโฮ๊ะนั่นเอง แกงโฮ๊ะจะมีรสชาติเผ็ดร้อน หอมเครื่องแกง รับประทานกับข้าวเหนียวหรือข้าวสวย ก็ได้


ข้าวซอย

               ข้าวซอย   คือ อาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย เดิมเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ เป็น อาหารที่คล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน ในตำรับดั้งเดิม ข้าวซอยจะมีส่วนประกอบของเนื้อหมูหรือเนื้อไก่หรือเนื้อวัว มีเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง และมีเครื่องปรุงรส


ขนมจีนน้ำเงี้ยว   


                 ขนมจีนน้ำเงี้ยว   เป็นอาหารยอดนิยมของคนล้านนา มานาน ประกอบด้วยเส้นขนมจีน, เลือดหมู, เนื้อหมู, มะเขือเทศ เป็นหลัก มีทั้งสูตรเชียงราย (ใส่ดอกงิ้ว) สูตรเชียงใหม่ (ใส่เต้าเจี๊ยว) สูตรลำปาง (ใส่ถั่วเน่า) สูตรแพร่ (เป็นแบบน้ำใส) เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง

วัฒนธรรม-ประเพณี


เป็งปุ๊ด





  “เป็งปุ๊ด” หรือ “เพ็ญพุธ” เป็นประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนค่อนรุ่งเข้าสู่วันเพ็ญขึ้น15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ตามวัฒนธรรมและความเชื่อของบรรพบุรุษล้านนาไทย ที่เชื่อกันว่าพระอุปคุตซึ่งพระอรหันต์องค์หนึ่งแปลงกันยายนป็นสามเณรน้อยมาบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกในยามเที่ยงคืน และชาวล้านนาในอดีตเชื่อว่าการทำบุญตักบาตรถวายพระอุปคุตในวันเป็งปุ๊ดก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ มีโชคลาภและร่ำรวย บังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยบรรพบุรุษชาวล้านนาเชื่อว่า ทุกคืนที่ย่างเข้าสู่วันพุธขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันเป็งปุ๊ด และจะมีประชาชนชาวล้านนาจำนวนมากมารอเพื่อประกอบพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร 
 
ปอยหลวง





งานบุญปอยหลวงเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคมหลายประการ นับตั้งแต่ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม ช่วงเวลา จากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน

ปี๋ใหม่เมือง

 http://www.banmuang.co.th/oldweb/2013/04/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%8B%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2/




 เป็นประเพณีที่ปรากฏในเดือนเมษายน หรือเดือน 7 เหนือ ประเพณีปีใหม่เมืองเป็นการเปลี่ยนศักราชใหม่ การเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีนั้นอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อเรื่องการเปลี่ยนศักราชใหม่ และเป็นโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้มาอยู่รวมกันเพื่อทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ ดำหัว เล่นน้ำ และขอพรจากผู้ใหญ่อีกด้วย


อ้างอิง

สถานที่ท่องเที่ยว








 
     เชียงราย นับเป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน แถมยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้บนดอยสูงที่สลับซับซ้อน เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำและน้ำตกอันงดงามหลายแห่ง รวมถึงมีประชากรหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อ ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูง ซึ่งแต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ เป็นเสน่ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จึงไม่ต้องแปลกใจเลยหากเชียงรายจะเป็นจังหวัดอันดับต้น ๆ ที่นักเดินทางมักคิดถึงเป็นที่แรก ๆ

1.วนอุทยานภูชี้ฟ้า






  วนอุทยานภูชี้ฟ้า เป็นจุดชมวิวทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นสุดฮอตของจังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง 25 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นยอดเขาที่แหลมชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า อยู่สูงจากระดับทะเลประมาณ 1,628 เมตร โดยมีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้าง ในฤดูหนาวจะมีทิวทัศน์สวยงามเป็นพิเศษ นักท่องเที่ยวส่วนมากจะมาค้างแรมบริเวณบ้านร่มฟ้าทองทาง ซึ่งห่างจากจุดชมวิวประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วจะเดินขึ้นภูชี้ฟ้าเพื่อไปชมวิวตอนเช้ามืด ระหว่างทางจะพบแปลงปลูกป่านางพญาเสือออกดอกบานสะพรั่งสวยงาม (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์) และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ต้นเสี้ยวดอกขาวรอบภูชี้ฟ้าจะออกดอกบานเต็มเชิงเขา

           การเดินทางใช้เส้นทางเชียงราย-เทิง ระยะทาง 64 กิโลเมตร และจากเทิง-บ้านปี้ ระยะทาง 6 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1155 ผ่านบ้านปางค่า บ้านเชงเม้ง เป็นทางลาดยาง ถึงภูชี้ฟ้าระยะทาง 42 กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 1021 สายเทิง-เชียงคำ-บ้านฮวก ก่อนถึงเชียงคำ 6 กิโลเมตร มีทางแยกไปอุทยานแห่งชาติน้ำตกภูซาง อีก 19 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อไปยังภูชี้ฟ้าอีก 30 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถนำรถไปจอดไว้ที่ลานจอดรถวนอุทยานภูชี้ฟ้าแล้วเดินเท้าไปจุดชมวิวประมาณ 700 เมตร สอบถามรายละเอียดติดต่อได้ที่ สถานีขนส่งเชียงราย โทรศัพท์ 0 5371 1224 อบต.ตับเต่า โทรศัพท์ 0 5318 9111 และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โทรศัพท์ 0 5371 0195-6

2.ดอยผาหมน





เป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกแห่งหนึ่งของ จ . เชียงราย ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากภูชี้ฟ้ามากนัก นักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวภูชี้ฟ้า ไม่ควรพลาดที่จะแวะมาเยี่ยมชมความสวยงามของดอกไม้เมืองหนาวของที่นี่ โดยเฉพาะดอกทิวลิป และดอกลิลลี่  ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรดอยผาหม่นซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2535 มุ่งเน้นให้เป็นศูนย์ฝึกอบรม และส่งเสริมด้านการเกษตร บนพื้นที่ 113 ไร่ บนความสูงกว่า 1,000 เมตร อากาศเย็นสบายตลอดปี   ที่นี่ เป็นสถานที่ เพาะปลูกไม้เมืองหนาวหลายชนิด เช่น ดอกทิวลิป ลิลลี่ ดอกชัลเวียสีแดง ต้นคริสต์มาตย์สีแดง หลากสีหลายพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีทัศนียภาพที่สวยงามเห็นภูเขาน้อยใหญ่เรียงสลับกันอย่างสวยงาม สีเขียวขจีของต้นไม้ แสดงให้เห็น ถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้โดยรอบ ไฮไลต์ที่สำคัญของที่นี่ ก็คงเป็นการเปิดให้เข้าชมแปลงดอกทิวลิปหลากสี ดอกลิลลี่ และยังมีดอกไม้เมืองหนาวอีกมากมาย บนเนื้อที่กว่า 5 ไร่ โดยจะมี จัดเทศกาล ดอยทิวลิปบาน ที่ ดอยผาหม่น ในช่วงหน้าหนาวของทุกปี  ดอกทิวลิปบานแล้วจะอยู่ได้ราว 1 สัปดาห์เท่านั้น และเป็นดอกไม้ที่ชอบ อากาศหนาวจะอยู่ในอณุหภูมิที่ 10-15 องศาเซียลเซียส ศูนย์ส่งเสริมการเพาะปลูกไม้เมืองหนาว จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ ไปศึกษาอยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อศึกษาและทดสอบในการนำทิวลิปเข้ามาปลูกในเมืองไทย ทิวลิปของที่ดอย ผาหม่นมีสายพันธุ์เป็นร้อยสายพันธุ์แต่ที่ทดสอบแล้วปลูกได้ในเมืองไทยมีอยู่ 30 สายพันธุ์ ส่วนที่นำมาทดลองปลูกม ี 11 สายพันธุ์ที่ทนทานรับกับสภาพอากาศบนดอยได้ การปลูกต้องใช้หน่อที่นำเข้าจาก เนเธอร์แลนด์ และใช้ครั้งเดียว ซึ่งอุณหภูมิจะเป็นตัวกำหนดการออกดอก

3.พระธาตุจอมจ้อ




พระธาตุจอมจ้อ ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมจ้อ ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โทร. 053-795-063 - 081-252-7798 มีพระนิพนธ์ โกวิโท เป็นเจ้าอาวาส ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมจ้อเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิที่อยู่คู่เมืองเทิงมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ประวัติพระธาตุจอมจ้อจากคัมภีร์เก่าแก่ที่ตั้งโดยนักปราชญ์ผู้ชำนาญในด้านภาษาบาลีของอำเภอเมืองเทิง (เมืองเถิง) ในสมัยนั้นได้กล่าวว่า ในกาลสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาสุวรรณภูมิ พระองค์ได้พักอยู่ใต้ต้นอโศกบนดอยใกล้แม่น้ำอิง

 มีพญานาคตนหนึ่ง รู้ว่าพระพุทธองค์เสด็จมาจึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามความต่างๆแล้วจึงนำจ้อคำ ๓ ผืนแล้วจ้อแก้วอีก ๓ ผืน มาถวายพระพุทธองค์ พระอานนท์จึงขอทูลพระธาตุให้พระยานาคตนนั้น พระพุทธองค์จึงนำพระหัตถ์ลูบพระเศียรได้พระเกศาธาตุเส้นหนึ่ง จึงโปรดให้พญานาคไว้พญานาคจึงนำความแจ้งให้เจ้าเมืองสร้างพระธาตุไว้ที่กลางดอยเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุ ต่อมาจึงมีการขนานนามพระธาตุนั้นว่า พระธาตุจอมจ้อ ทุกปีจะมีพิธีสรงน้ำพระธาตุจอมจ้อ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ

ความเชื่อ ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมจ้อ คำว่า "จ้อ" เป็นคำล้านนา หมายความเทียบได้กับ "ช่อ" ในภาษาไทยกลาง
"จอมจ้อ" จึงควรหมายความถึง ชูขึ้น หรือสูงเด่น เป็นสง่า สูงส่ง ถ้าได้กราบไหว้ก็จะประสบความสำเร็จทุกสิ่งเหมือนกับการเริ่มเจรจาก็นำมาซึ่งความสำเร็จและสมประสงค์ทุกประการ

การเดินทาง : ออกจากอำเภอพานใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ ไปทางใต้แยกพาน – ป่าแดด เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๘๑ ผ่านสันมะเค็ด ป่าแงะ ถ้าผาจรุย จนถึงสามแยกเชียงเคี่ยน เลี้ยวขวาเข้าถนนศรีเชียงราย – เทิง ผ่านยศรีดอนชัย ปล้อง เข้าสู่อำเภอเมืองผ่านสถานีตำรวจภูธรอำเภอเทิง โรงพยาบาลเทิง และวัดพระศรีมหาโพธิ์ ข้ามสะพานแม่น้ำอิงอีก ๒๕o เมตร จะถึงปากทางเข้าพระธาตุจอมจ้อ ต้องขับรถขึ้นดอยอีกประมาณ ๑,๕oo เมตร รวมการเดินทางทั้งสิ้น ๖๕ กิโลเมตร

4.น้ำตกตาดบอน

          ตั้งอยู่ที่บริเวณป่าต้นน้ำห้วยขุนปล้อง  ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำขุนปล้องอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์  ของบ้านสันป่าสัก  หมู่ที่ 10  ตำบลปล้อง  อำเภอเทิง  จังหวัดเชียงราย  ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดเล็กที่ชาวบ้านได้ค้นพบมานานมากแล้ว  ซึ่งมีความสวยงามมาก  ทางเข้าน้ำตกผ่านบ้านหมู่ที่  10 เลียบบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยขุนปล้องไปตามไหล่เขาผ่านค่ายลูกเสือประจำตำบล  จนถึงน้ำตกประมาณ 8 กิโลเมตร ใช้เวลา 30 นาทีโดยประมาณ  สภาพแวดล้อมโดยรวมยังคงสภาพเป็นป่าเบญจพรรณ  มีพันธุ์ไม้นานาพันธุ์  แมลงนานาชนิด  โดยการอนุรักษ์ของชาวบ้านหมู่ที่  4 และหมู่ที่ 10
            การเดินทางเข้าไปน้ำตกตาดบอนเดินทางได้โดยรถยนต์ประมาณ 3  กิโลเมตร จากทางแยกถึงจุดจอดรถแล้วเดินเท้าต่อ  ซึ่งจะต้องเดินทางประมาณ 1 กิโลเมตร

สัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงรายและตราอำเภอเทิง




        เมื่อพญามังรายได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือในอาณาเขตรอบ ๆ ได้แล้วจึงทรงกรีฑาทัพไปแสดงฝีมือในการยุทธต่อหัวเมืองฝ่ายใต้ลงมา จึงได้ไปรวมพล ณ. เมืองลาวกู่เต้า และหมอควาญได้นำช้างมงคลของพญามังรายไปทอด (ผูก) ไว้ในป่าหัวดอยทิศตะวันออก พลัดหายไป พญามังรายจึงได้เสด็จติดตามรอยช้างไปจนถึงดอยทองริมแม่น้ำกกนัทธีได้ทัศนาการเห็น ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นในที่นั่น ให้ก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง ขนานนามเมืองว่า "เวียงเชียงราย" ตามพระนามของพญามังรายผู้สร้าง เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 1805 ดังนั้น จึงได้นำรูปช้างสีขาวใต้เมฆแห่งความรุ่งเรือง และอยู่เย็นเป็นสุข บนพื้นสีม่วงของวันเสาร์ ซึ่งตรงกับวันประสูติของพญาเม็งราย เป็นสีประจำจังหวัด


คำขวัญประจำจังหวัด
   เหนือสุดในสยาม    ชายแดนสามแผ่นดิน

   ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง

ดอกไม้ประจำจังหวัด



ชื่อดอกไม้ดอกพวงแสด 
ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Pyrostegia Venusta (ker) Miers
วงศ์ : Bignonia Ceae
ลักษณะชนิดพันธุ์ไม้ : ไม้เลื้อยต่างประเทศ
ชื่ออื่น ๆ : Orange trumpet, Flane Flower, Fire - Cracder Vine

ต้นไม้ประจำจังหวัด



ชื่อพันธุ์ไม้ กาสะลองคำชื่อวิทยาศาสตร์ Radermachera ignea (Kurz) Steenis
วงค์ Dignoniaceae
ชื่ออื่น ๆ ปีปทอง, แคเป๊าะ, สำเนาหลามต้น, สะเภา, อ้อยช้าง, จางจืด


ความเป็นมาของตุงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


          เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ซึ่งนับว่าเป็นวาระอันมงคลยิ่ง พสกนิกรชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่าและเผ่าพันธุ์ได้รวมใจกันเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันหาที่สุดมิได้ ต่อพสกนิกรชาวเชียงรายและชาวไทย จึงพร้อมใจกันจัดสร้างตุงทองคำเพื่อ
น้อมเกล้าน้อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน ๒ ตุง และตุงหลวงจำนวน ๑ ตุง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาส
จังหวัดเชียงรายสถาปนาได้ ๗๓๗ ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้การนำของ
นายวิจารณ์ ไชยนันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น ได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากประชาชนชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่า เผ่าพันธุ์ เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งตุงผืนที่ ๑ ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี ผืนที่ ๒ ออกแบบโดย นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตุงหลวง ออกแบบโดย นายกนก วิศวกุล ผู้ออกแบบได้ศึกษาและผสานความคิดสอดคล้องกันกับชาวเชียงรายผนวกกับความจงรักภักดี จังมีความหมายและเกิดรูปแบบดังต่อไปนี้

ตุงผืนที่ ๑ 
ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี
รูปแบบตุง มีลักษณะเป็น จลนะภาพ คือการแสดงออกถึงพลังแห่งการเคลื่อนไหว อิสระเบ่งบานในการรังสรรค์ที่มิได้ยึดรูปแบบดั้งเดิม หากแต่ยังไว้ซึ่งศักยภาพในด้านเนื้อหา ปรัชญาศรัทธา และสัญลักษณ์อันเปี่ยมด้วยความหมายของกษัตริย์แห่งจักรีวงศ์ โดยใช้รูปแบบของนารายณ์ทรงครุฑ อันเป็นพระราชลัญจกรของรามาวตาร พระวิษณุอวตารลงมาเป็นพระราม รูปพระนารายณ์สี่กรทรงตรี คธา จักร และสังข์ ประทับยืนบนครุฑ ช้างเอราวัณสามเศียร หมายถึง สวรรค์ชั้นดุสิต ที่สถิตของพระอินทร์ และพระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ อยู่บนฐานปัทม์ ดอกบัวเสี้ยงเดือนรูปปิ่นพระศิวะ และกระต่ายแทนปีพระราชสมภพ และเป็นสัญลักษณ์ของ ศศิธรประภามณฑลของพระอิศวร ตามปกิรนัมตรีมูรติ จิตรกรแทนหกรอบพระชันษา โดยใช้ชื่อสัตว์หิมพานต์ทั้งหก อันมีช้างเอราวัณ ครุฑ นาค นรสิงห์ คชสีห์ และกระต่าย นับได้ว่าเป็นงานรังสฤษฎ์ที่สมบูรณ์ด้วยรูปแบบ เปี่ยมด้วยความหมาย ทรงพลังและเข้มขลังด้วยศรัทธาความรัก

ตุงผืนที่ ๒
ออกแบบโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
เป็นตุงแห่งความจงรักภักดีของชาวเชียงรายและปวงประชาไทย น้อมเกล้าถวายบูชาองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 
แสดงออกด้วยรูปแบบที่บ่งบอกถึง”จากแผ่นดิน - สู่แผ่นฟ้า”
ดิน หมายถึง รูปทรงล่างสุดของตุง ที่มีสัญลักษณ์รูปช่างอันเป็นตราประจำจังหวัดเชียงรายโอบอุ้มขึ้นไปสู่รูปทรงที่ปรากฏเป็นภาพประชาชนชาวเชียงรายถวายเครื่องสูง เพื่อน้อมถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในบรรยากาศของขุนเขาดอยนางนอน และองค์พระธาตุดอยตุง เหนือจากดอยตุงเป็นภาพพญาครุฑ อันเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ขององค์พระมหากษัตริย์ หลังของพญาครุฑเป็นรัศมีที่โอบอุ้มมี ๑๐ องค์ หมายถึง การปกครองด้วยทศพิธราชธรรม เหนือพญาครุฑเป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ มีเปลวกนกที่หมายถึงพระเมตตา รองรับพญานาค ซึ่งหมายถึงพระบารมีที่ปกป้องไพร่ฟ้าประชาชน ดอกบัว และแสดงถึงทรงเป็นนักปฎิบัติธรรมแตกฉานในพระธรรมอย่างลึกซึ้ง บนสุดเป็นตราสัญลักษณ์ 6 รอบ ล้อมด้วยเปลวกนกที่โพยพุ่งไปสู่ความสว่าง คือ พระนิพพาน

ตุงผืนที่ ๓ 
ออกแบบโดย นายกนก วิศวะกุล 
ภาพโดยรวมของตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติฯ แสดงออกถึงพลังแห่งความสงบนิ่งและมั่นคงพลังแห่งความจงรักภักดี พลังแห่งความเคารพศรัทธายิ่ง ของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ที่น้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องจากตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติฯ นี้ จะได้จัดสร้างไว้ที่จังหวัดเชียงรายในโอกาสข้างหน้า เพื่อร่วมฉลองเมืองเชียงรายที่สถาปนามาได้ ๗๓๗ ปี ดังนั้น รูปแบบด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม จึงต้องคำนึงถึงหลักภูมิทัศน์ที่มีความสอดคล้องกลมกลืนอย่างสงบ มั่นคงและสง่างาม


สภาพภูมิศาสตร์


1.ที่ตั้ง
จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือ ถึง
20 องศา 30 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 15 ลิปดา ถึง 100 องศา 45 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 785 กิโลเมตร
      อำเภอเทิงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองเชียงราย ระยะห่างประมาณ 64 กิโลเมตร

2.อาณาเขต


ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล และอำเภอเวียงแก่นทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงไซยะบูลี (ประเทศลาว) และอำเภอภูซาง (จังหวัดพะเยา)ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอจุน อำเภอเชียงคำ (จังหวัดพะเยา) และอำเภอป่าแดดทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัย







3.สภาพภูมิประเทศ
     เชียงรายมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ (North Continental Highland) มีพื้นราบสูงเป็นหย่อมๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย เวียงป่าเป้า และเชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500 - 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน เมือง แม่จัน แม่สาย เชียงแสน และเชียงของ มีความสูงประมาณ 410 - 580 เมตร จากระดับน้ำทะเล

4.สภาพภูมิอากาศ

        ภูมิอากาศแบบมรสุม 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว











5.สภาพพื้นฐานดา้นเศรษฐกิจและสังคม

การเกษตรและอุตสาหกรรม
 ผลผลิตทางการเกษตร ข้าว,ข้าวโพด,ส้มโอ,ลิ้นจี่,ส้มเขียวหวาน,มะม่วง,มะขาม,กล้วยน้ำว้า
 แหล่งน้ำสำคัญ แม่น้ำอิง,แม่น้ำลาว,แม่น้ำหงาว
 โรงงานอุตสาหกรรม โรงงานทำเส้นก๋วยเตี๋ยว บ้านร่องริว ม.12 ต.เวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย,โรงบ่มใบยา ต.หงาว อำเภอเทิง จังหวัด เชียงราย

 ประชากร
 จำนวนประชากรชาย 42,227 คน
 จำนวนประชากรหญิง 42,307 คน
 รวม 84,534 คน
 ความหนาแน่น 106 คน/ตร.กม.



6.อาชีพ
 อาชีพหลัก การเกษตร - พื้นที่ 244,498 ไร่ ทำนา ปลูกพืชไร่ ปลูกพืชสวน พืชอื่นๆ เลี้ยงสัตว์ - ไก่พื้นเมือง เป็ดไข่ เป็ดเทศ ไก่ชนรวม โคเนื้อพื้นเมืองโคพันธุ์ โคเนื้อ สุกร กระบือ
 อาชีพรอง เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ทอผ้า จักรสาน แปรรูปอาหาร









7.การนับถือศานา
- นับถือศาสนาพุทธ 6,843 คน ร้อยละ    99.71
- นับถือศาสนาคริสต์      20 คน ร้อยละ      0.29










                                           https://sites.google.com/site/irajew09/sasn-sthan/phithikrrm-sakhay-ni-sasna-khrist



อ้างอิง
http://www.chiangraifocus.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%87

ประวัติอำเภอเทิง


         





https://www.youtube.com/watch?v=jipAip_DzhE


      

     เมืองเทิงหรือเวียงเทิงเป็นเมืองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนเนินเขาคลุมทั้งสองฟากแม่น้ำอิง ควบคุมเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในลุ่มน้ำอิง ภายในเขตเมืองทั้งสองฝั่งแม่น้ำมีซากวัดวาอาราม เศษภาชนะดินเผาเคลือบและไม่เคลือบอยู่ทั่วไป นอกจากนั้นยังพบพระพุทธรูปและชิ้นส่วนพระพุทธรูปสกุลช่างพะเยาตามที่ต่าง ๆ ทั่วไป อำเภอเทิงมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เริ่มมีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยขุนเจื๋อง ราชโอรสขุนจอมธรรม ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว(จังหวัดพะเยาในปัจจุบัน) ประมาณ จ.ศ. 482 (พ.ศ. 1663) เป็นหัวเมืองที่สำคัญของเมืองภูกามยาว โดยเมืองเทิงอยู่ในความปกครองของราชวงศ์มังรายราวพุทธศตวรรษที่ 20-21


       ต่อมาการปกครองได้แตกสาขาแยกเมืองออกปกครองมากขึ้น เมืองเทิงจัดอยู่ในเขตปกครองของบริเวณนครน่าน ตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2438) เรียกว่า กิ่งแขวงเมืองเทิง เป็นหัวเมืองของบริเวณน่านเหนือ (หัวเมืองชั้นนอกที่อยู่ห่างไกลเรียกว่า "บริเวณ" มีข้าหลวงบริเวณดูแล) กิ่งแขวงเมืองเทิงได้จัดแบ่งหมู่บ้านต่าง ๆ เป็น 14 แคว้น เช่น แคว้นเวียงเทิง มีเจ้าหลวงเทิง (ไชยสาร) เป็นบุตรของเจ้าพรหมสุรธาดาแห่งนันทบุรีศรีนครน่านเป็นเจ้าหลวงเมืองเทิงองค์สุดท้าย แคว้นบ้านหงาว แคว้นตับเต่า แคว้นน้ำแพร่ แคว้นบ้านเอียน และแคว้นบ้านงิ้ว ในพ.ศ. 2442 กระทรวงมหาดไทยจึงให้พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เสง วิริยศิริ) เมื่อครั้งเป็นพระยาศรีสหเทพราชปลัดทูลฉลอง ขึ้นมาจัดวางระเบียบการปกครองในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ อันเนื่องแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 แล้วนั้น และเพื่อที่กระทรวงมหาดไทยจะได้ตราข้อบังคับสำหรับปกครองมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือขึ้นใช้ในปีต่อไป ปีนี้พระยามหาอำมาตยาธิบดีได้มาที่จังหวัดน่าน พร้อมด้วยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (ครั้งนั้นยังเป็นเจ้าสุริยะพงษ์ผริตเดช) เจ้าผู้ครองนคร พระยาสุนทรนุรักษ์ (เลื่อง ภูมิรัตน์) ข้าหลวงประจำเมืองและเจ้านายท้าวพญาทั้งปวงประชุมปรึกษาตกลงวางระเบียบราชการขึ้นใหม่ การปกครองท้องที่ใหม่ ได้แบ่งเขตแขวงเมืองน่านออกเป็น 8 แขวง แขวงน้ำอิงคือหนึ่งในแขวงทั้ง ๘ คือรวม เมืองเทิง เมืองเชียงคำ เมืองเชียงแลง เมืองงาว เมืองเชียงของ เมืองเชียงเคี่ยน เมืองลอ เมืองมิน ให้มีที่ว่าการแขวงตั้งที่เมืองเทิง ในปี พ.ศ. 2457 แต่ต่อมาได้แยกการปกครองจากจังหวัดน่านมาขึ้นตรงต่อจังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2475 แบ่งการปกครองออกเป็น 10 ตำบล






                อำเภอเทิง หมายถึงอำเภออยู่บนที่ราบสูง มีน้ำแม่อิงไหลจากจังหวัดพะเยา ผ่านอำเภอเทิงไปลงแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของ จากลุ่มน้ำแม่อิงนี้เอง แสดงว่ายุคโบราณดึกดำบรรพ์ บ้านเมืองที่อยู่ลุ่มน้ำแม่อิงย่อมเกี่ยวดองเป็นเครือญาติ แล้วมีลักษณะสังคมและวัฒนธรรมเดียวกัน เทิง ในชื่ออำเภอเทิง หมายถึงบริเวณที่สูง เห็นได้จากแผ่นดินบริเวณนั้นยกตัวขึ้นสูงกว่าบริเวณอื่น ดูได้จากถนนที่ไปจากจังหวัดพะเยา เมื่อจะเข้าอำเภอเทิง ถนนจะค่อยๆ ลาดสูงขึ้น บริเวณอำเภอเทิงเป็นเขตที่สูง มีคนอยู่อาศัยร่วมสมัยกับเมืองพะเยา, เมืองเชียงราย ตั้งแต่ยุคก่อนรับพุทธศาสนา หรือก่อน พ.ศ. 1700 แล้วเติบโตเรื่อยมาจนรับพุทธศาสนา ถึงมีคูน้ำคันดินเป็นบ้านเมืองลุ่มน้ำอิง แล้วมีฝีมือชำนาญทำพระพุทธรูปหินทรายจำนวนมากมายทั้งลุ่มน้ำอิง
                กล่าวถึงเมืองเทิง(เมืองเติง) เมืองทเลิง(เมืองต๊ะเลิง) เมืองเธิง(เมืองเทิง) เมืองเซิง หรือเมืองเชิง เมื่อตะก่อน(แต่ก่อน)เมืองเทิงเป็นเมืองที่มีอำนาจเฉพาะ เจ้าเมืองเทิงองค์สุดท้ายคือเจ้าหลวงเทิง (ไชยสาร) เป็นบุตรของเจ้าพรหมสุรธาดา หรือเจ้าฟ้าอัทธวรปัญโญ ต่อมาเป็นเจ้าเมืองน่านเพราะไปสวามิภักดิ์ ร.1 แห่งกรุงสยาม เมืองเทิงจึงถูกรวมกับเมืองน่าน จนถึงในสมัยร.5 แห่งสยามได้แยกไปรวมกับเมืองแถวๆนั้นเป็นน่านเหนือต่อมาแยกเป็นจังหวัด (น่าจะอยู่ในอำเภอพะเยา) แต่มาเมื่อแยกพะเยาออกจากจังหวัดเชียงราย ชื่อเมืองเทิงก็ติดไปทางเชียงรายจนกลายเป็นอำเภอหนึ่งไป

                ในตำนานพระเจ้าเลียบโลกที่พระองค์เสด็จมาแล้วประทานพระเกศาธาตุ ซึ่งบรรจุอยู่ในพระธาตุจอมจ้อ และทำนายว่าต่อไปนี้จะมีเมืองชื่อเมืองเทิง อันหมายถึงการมาถึงของพระพุทธองค์ ที่เมืองเทิงเป็นแหล่งที่ค้นพบพระพุทธรูปหินทราย อันเป็นฝีมือช่างสกุลพะเยา อันแสดงถึงว่าในอดีตถูกครอบงำทางศิลปวัฒนธรรมจากเมืองภูกามยาว เมืองเทิงเป็นเมืองน้อยแต่กำลังคนมากเมืองเทิงจึงถือเป็นเมืองที่มีฐานะเป็นเมืองโทนคือไม่ใช่เมืองขึ้น หมายถึงขึ้นโดยตรงต่อเมืองเชียงใหม่ (ขอยกตัวอย่างเมืองขึ้น เช่นเมืองวังเหนือ/ปัจจุบันอยู่บริเวณจังหวัดลำปาง เมืองวังเหนือขึ้นต่อเมืองเชียงราย ดังนั้นเมืองโทนคือเมืองเชียงราย)เช่นเดียวกัน เมืองเทิงก็เหมือนเมืองน่าน เมืองแพร่ เมืองละคอน เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน คือเป็นเมืองโทน อาณาเขตเมืองเทิงนั้นในปัจจุบันถูกแบ่งเขตเป็นอำเภออีก 2 อำเภอ คือ อำเภอเทิง แบ่งไปเป็นอำเภอขุนตาล(ส่วนหนึ่งทางทิศใต้และตะวันตก) และ(กิ่ง)อำเภอพญามังรายทั้งหมด


พระธาตุจอมจ้อ


สี่แยกอำเภอเทิง


งัวล้อ


การสร้างสะพานข้ามถนน (สายเทิง-เชียงของ)

การประชุมคมนาคม

อำเภอเทิง

อ้างอิง
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.499444723532185.1073741831.360091357467523&type=3